ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นชัดเจนในการผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลให้เติบโต 50% ภายในปี 2573 ผ่านโครงการริเริ่มของภาครัฐ ซึ่งรวมถึงนโยบายประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) และแผนงานดิจิทัลแห่งชาติ เพื่อวางรากฐานของประเทศให้เติบโต และต้องการให้ภาคธุรกิจดำเนินการในทันที
55% ขององค์กรพึ่งพานวัตกรรมดิจิทัลในการขับเคลื่อนโครงการที่มีกำไรสูงสุด ในขณะที่ 76% ของผู้นำธุรกิจทั่วโลกตระหนักว่าการปรับเปลี่ยนทางดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญสู่การบรรลุทั้งเป้าหมายด้านความยั่งยืนและวัตถุประสงค์ทางธุรกิจอื่นที่กว้างขึ้น
นับเป็นการเน้นย้ำถึงพลังของการปรับเปลี่ยนทางดิจิทัลในการขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับธุรกิจ ทั้งนี้ ในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประตูสู่โอกาสกำลังปิดตัวลง ดังนั้นองค์กรที่ไม่สามารถบูรณาการเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีความเสี่ยงที่จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
การใช้ประโยชน์จากเทรนด์เทคโนโลยีใหม่เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
การคาดการณ์ด้านเทคโนโลยีของฟูจิตสึ ในปี 2568 ชี้ให้เห็นถึงการวางแผนกลยุทธ์ด้านไอทีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของธุรกิจไทย บวกกับการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) คอมพิวเตอร์ควอนตัม และความปลอดภัยทางไซเบอร์ขั้นสูง มากำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจแบบใหม่ในอนาคต

- ความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ AI กำลังเปลี่ยนถ่ายจากเครื่องมือ สู่การเป็นพันธมิตรที่เชื่อถือได้ Agentic AI หรือ AI เชิงปฏิบัติ จะเพิ่มขีดความสามารถ ให้ธุรกิจทำงานต่าง ๆ ได้แบบอัตโนมัติ ลดการแทรกแซงของมนุษย์ และปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ธุรกิจต่าง ๆ จะต้องปรับ กลยุทธ์ด้านไอที เพื่อเริ่มทดลองใช้ AI เชิงปฏิบัติ อย่างมีความรับผิดชอบและมีประสิทธิภาพ การตัดสินใจอย่างอิสระที่ขับเคลื่อนด้วยตัวแทนที่เป็น AI จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและบุคลากรสามารถทำงานที่มีคุณค่าสูงขึ้น
- การก้าวกระโดดของการประมวลผลแบบควอนตัม: ฟูจิตสึคาดว่าจะได้เห็นความก้าวหน้าในการแก้ไขข้อผิดพลาดของควอนตัม ซึ่งจะทำให้คิวบิตมีเสถียรภาพและสามารถขยายเครือข่ายได้มากขึ้น การพัฒนาดังกล่าวจะช่วยให้การคำนวณควอนตัมมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งจำเป็นสำหรับงานในด้านต่าง ๆ เช่น การค้นคว้ายาและวัสดุศาสตร์ เพื่อรักษาระดับความสามารถในการแข่งขัน ธุรกิจควรสำรวจผลกระทบของ Quantum computing และพัฒนาโรดแมประยะยาวด้านไอทีที่มีการนำเทคโนโลยีนี้รวมอยู่ด้วย
- มาตรการความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่พัฒนาไปตามยุคสมัย: เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลมีความซับซ้อนและเชื่อมโยงกันมากขึ้น ภัยคุกคามด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จึงยิ่งทวีความซับซ้อนมากขึ้นตามไปด้วย ธุรกิจต่าง ๆ จำเป็นต้องลงทุนในกลยุทธ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งและมีมนุษย์เป็นศูนย์กลางมากขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่การฝึกอบรมและพัฒนา เพื่อเปลี่ยนบุคลากร จากที่เป็นจุดอ่อน ให้กลายเป็นแนวป้องกันที่สำคัญ
แนวทางแบบองค์รวมของฟูจิตสึในการปรับเปลี่ยนทางดิจิทัลเชิงกลยุทธ์
เพื่อนำทางภูมิทัศน์ทางเทคโนโลยีในปี 2568 และอนาคตให้ประสบความสำเร็จ ธุรกิจจำเป็นต้องมีแผนงานเชิงกลยุทธ์ในการบูรณาการเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ากับกรอบการดำเนินธุรกิจแม้ว่าเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะมีศักยภาพมหาศาล แต่กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนทางดิจิทัลนั้นอยู่ที่กลยุทธ์ด้านไอทีที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแต่ละบริษัทโดยเฉพาะ
ฟูจิตสึมีบริการและโซลูชันแบบครบวงจรที่ออกแบบในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับแต่ละธุรกิจ เพื่อช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจเฉพาะของแต่ละองค์กร โดยทำงานร่วมกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด ในการพัฒนาแผนงานด้านเทคโนโลยีที่ปรับแต่งได้ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจที่เฉพาะเจาะจงของลูกค้า เพื่อให้มั่นใจว่าเส้นทางการปรับเปลี่ยนทางดิจิทัลจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและราบรื่นอย่างไร้รอยต่อ