Brother ผู้นำโซลูชันด้านการพิมพ์จากประเทศญี่ปุ่น เดินหน้าตอบโจทย์ความท้าทายของลูกค้าภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมการผลิต ด้วยการพัฒนา โซลูชันการพิมพ์ฉลากจาก PLC (Print from PLC) อำนวยความสะดวกในการจัดทำฉลากด้วยระบบพิมพ์อัตโนมัติแทนการเขียนหรือพิมพ์ฉลากทีละชิ้นแบบดั้งเดิม ช่วยลดข้อผิดพลาดและระยะเวลาการทำงาน ประหยัดต้นทุนแรงงาน พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าในไลน์ผลิต นอกจากนี้ โซลูชันดังกล่าวยังสามารถทำงานร่วมกับ P-Touch ซอฟต์แวร์ออกแบบฉลากของ Brother ทำให้กระบวนการออกแบบฉลากสะดวกและรวดเร็วขึ้น พร้อมให้ขับเคลื่อนสายการผลิตและสร้างเติบโตอย่างมั่นคง
นายกิตติพงศ์ กนกวิไลรัตน์ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายและการตลาด บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “Brother มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สอดรับกับกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังมีกลุ่มผลิตภัณฑ์หลากหลาย อาทิ กลุ่มเครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์ฉลาก เครื่องสแกน จักรปัก เครื่องพิมพ์ผ้าระบบดิจิทัล ไปจนถึงเครื่องเสียงและอุปกรณ์ต่อพ่วง ฯลฯ ครอบคลุมความต้องการของตลาด ทั้งผู้ใช้งานแบบโฮมยูสเซอร์ ไปจนถึงกลุ่มผู้ประกอบการ B2B โดยล่าสุด Brother ได้เดินหน้าขยายฐานไปยังกลุ่มลูกค้าภาคธุรกิจ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการผลิต ทั้งโรงงานผลิตสินค้า โรงงานผลิตยานยนต์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านการชูผลิตภัณฑ์ กลุ่มเครื่องพิมพ์ฉลาก (Labelling Machines) ที่มีฟังก์ชันครบครันตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน ทั้งการใช้งานภายในบ้าน สำนักงาน ธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงการใช้การในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ นับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมตัวช่วยสำคัญที่ทำให้การติดฉลากได้มาตรฐาน รวมไปถึงการตรวจสอบ ติดตาม และจัดการสินค้าสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ และเป็นระบบมากยิ่งขึ้น”
สำหรับกลยุทธ์การนำเสนอผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเพื่อเจาะตลาดอุตสาหกรรมและภาคการผลิต Brother ได้มีการพัฒนา โซลูชันการพิมพ์ฉลากจาก PLC (Print from PLC) ที่สามารถพิมพ์ฉลากสินค้าแบบอัตโนมัติ ด้วยการเชื่อมต่อเครื่องพิมพ์ฉลากของ Brother เข้ากับระบบควบคุมเครื่องจักรและอุปกรณ์ในโรงงาน หรือ PLC (Programmable Logic Controller) จาก Mitsubishi Electric ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ PLC คุณภาพสูง โดยระบบ PLC จะทำหน้าที่ควบคุมไลน์การผลิตในโรงงาน เมื่อสินค้าหรือชิ้นส่วนอุปกรณ์ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพเรียบร้อย ระบบดังกล่าวจะสั่งการให้เครื่องพิมพ์ฉลากของ Brother พิมพ์ฉลากแบบอัตโนมัติด้วยความแม่นยำสูง ได้ฉลากที่มีรายละเอียดข้อมูลตรงกับสินค้าทุกชิ้น
นายกิตติพงศ์ กล่าวเสริมว่า “เครื่องพิมพ์ฉลากจาก Brother มาพร้อมกับ ซอฟต์แวร์ออกแบบฉลาก P-Touch Editor ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถออกแบบปรับแต่งข้อมูลบนฉลาก เช่น รายละเอียดสินค้า บาร์โค้ด และคิวอาร์โค้ดสำหรับการติดตามสินค้า รวมถึงออกแบบองค์ประกอบบนฉลาก ด้วยฟังก์ชัน Drag & Drop ช่วยลดความซับซ้อนและระยะเวลาการจัดทำฉลากจากการเขียนโค้ดแบบดั้งเดิม อีกทั้งยังสามารถสร้างและบันทึกเทมเพลตฉลากที่ต้องการในระบบ โดยเมื่อเครื่องพิมพ์ฉลากได้รับคำสั่งพิมพ์จาก PLC ฉลากที่ออกแบบไว้จะถูกพิมพ์ออกมาให้ตรงกับข้อมูลสินค้าโดยอัตโนมัติ ซึ่งการผสานระหว่างโซลูชันการพิมพ์จาก PLC และซอฟต์แวร์ P-Touch ของ Brother จะทำให้การจัดทำฉลากมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมควบคุมต้นทุนในกระบวนการผลิต รวมถึงลดขั้นตอนและข้อผิดพลาดที่เกิดจากการทำฉลากด้วยการเขียนหรือพิมพ์ทีละชิ้นได้อีกด้วย