หน้าแรก Security Hacker AIS ผนึก ตำรวจไซเบอร์ ปฏิบัติการเชิงรุก ปราบ โจรจีนเทา จับเครื่องส่ง SMS ปลอม

AIS ผนึก ตำรวจไซเบอร์ ปฏิบัติการเชิงรุก ปราบ โจรจีนเทา จับเครื่องส่ง SMS ปลอม

พล.ต.ท. ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผบช.สอท. ร่วมกับ AIS โดย นายวรุณเทพ วัชราภรณ์ หัวหน้าฝ่ายงานธุรกิจสัมพันธ์ แถลงผลการปฏิบัติการของตำรวจไซเบอร์ บช.สอท. ตามนโยบายรัฐบาล ที่จะเร่งแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ มิจฉาชีพ และอาชญากรรมข้ามชาติ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน โดยครั้งนี้ “มาตรการระเบิดสะพานโจร” คือ การบุกรวบจีนเทาพร้อมเครื่องส่ง SMS ปลอม (False Base Station) ได้คารถ หลังตระเวนขับรถส่ง SMS ที่ปลอม Sender ผู้ส่งเป็นชื่อ AIS โดยเป็นข้อความลวงให้แลกคะแนน AIS Points แนบลิงก์ดูดเงิน ในย่านรามอินทรา สุขุมวิท และฝั่งธนฯ

สืบเนื่องจาก จนท. ตำรวจไซเบอร์ ได้รับการประสานจาก AIS ว่าตรวจพบกลุ่มคนจีนใช้อุปกรณ์ส่งสัญญาณความถี่ผิดกฎหมาย ส่งสัญญาณเข้าอุปกรณ์มือถือที่อยู่ในรัศมีโดยปลอมเป็นเครือข่าย AIS ทำการส่ง SMS ปลอมจาก Sender ชื่อ AIS ทำให้ประชาชนสับสนและหลงเชื่อ จนกระทั่งเช้าของวันที่ 9 มกราคม 2568 เจ้าหน้าที่ตำรวจไซเบอร์ ทีมวิศวกร AIS และ เจ้าหน้าที่ กสทช. จึงได้เข้าแสดงตัวตรวจสอบ พบว่าอุปกรณ์ที่ติดตั้งหลังรถคันดังกล่าวเป็นเครื่อง False Base Station ที่ถูกติดตั้งไว้พร้อมใช้งาน ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวนี้เป็นเครื่องวิทยุโทรคมนาคมแบบพกพาเถื่อน ผิดกฎหมาย โทรศัพท์มือถือ 11 เครื่อง สมุดบัญชีธนาคาร บัตรเอทีเอ็มและซิมโทรศัพท์มือถือกว่า 30 รายการ จึงได้ทำการจับกุมตัว MR.LI อายุ 49 ปี และ MR. ZHU อายุ 47 ปี สัญชาติจีน และแจ้งข้อกล่าวหาดำเนินคดี

การปฏิบัติการจับกุมครั้งนี้ถือเป็นการตัดวงจรสำคัญของแก๊งคอลเซ็นเตอร์เถื่อน ปิดโอกาสคนร้ายในการติดต่อประชาชนที่อาจตกเป็นเหยื่อ โดยทางกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ยังคงร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีอย่างเข้มข้นต่อไป

นายวรุณเทพ วัชราภรณ์ หัวหน้าฝ่ายงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า “ในฐานะผู้ให้บริการระบบสื่อสาร เราให้ความสำคัญกับการดูแลลูกค้าให้ใช้บริการได้อย่างปลอดภัย จึงเดินหน้าทำงานเชิงรุกอย่างต่อเนื่องในทุกมิติ โดยการให้ความร่วมมือกับตำรวจ และหน่วยงานภาครัฐ ในการติดตามมิจฉาชีพ ตรวจสอบเส้นทาง ปิดกั้นการใช้เครือข่ายเป็นช่องทางหลอกลวงประชาชน อย่างเรื่องการส่ง SMS ปลอม ผ่านอุปกรณ์เครื่องจำลองสถานี (False Base Station) เสมือนการปลอมเป็นเครือข่ายเอไอเอส ทำการส่ง SMS ปลอมจาก Sender ชื่อ AIS ทำให้ประชาชนสับสนและหลงเชื่อ ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าว เป็นเครื่องวิทยุโทรคมนาคมแบบพกพาเถื่อน ผิดกฎหมาย เพราะหลังจากการตรวจสอบแล้ว ไม่พบข้อมูลการได้รับอนุญาตจาก กสทช. แต่อย่างใด